วิธีการเตรียมไก่ประกวด

8.วิธีการเตรียมไก่เพื่อประกวด

คัดไก่ในฟาร์มที่เราเห็นว่ามีลักษณะดีที่สุดในแต่ละสีในสายาของเรา

ทำการแยกเลี้ยงเดี่ยวล่วงหน้าก่อนการประกวด 3-4 เดือน เพื่อป้องกันปัญหาการจิกตี (Cannibalism) และการข่ม จากไก่ตัวที่เก่งกว่า

อาบน้ำ ทำความสะอาดตัวไก่เพื่อกำจัดพยาธิภายนอก (Ectoparsites) เช่น เหา ไร และหมัด โดยใช้ยา มาลาไทออน (Malathion) ผสมน้ำในอัตราส่วนน้ำยา 1 แกลลอน ต่อไก่ 100 ตัว น้ำยาที่เหลือจากการอาบน้ำไก ่ให้นำมาฉีดพ่นในกรง ที่ทำความสะอาดแล้ว เพื่อกำจัดไร ในกรงให้หมดไป

ทำการถ่ายพยาธิไก่ โดยพยาธิตัวกลมให้ยาเมเบนดาโซล (Mebenda- zole) 5 – 35 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักไก่ 1 กิโลกรัม พยาธิตัวแบน ให้ยาเมเบนดาโซล 10 – 50 มิลลิกรัม ต่อนำหนักไก่ 1 กิโลกรัม ให้ยาครั้งเดียว

ให้วิตามิน อาหารเสริม (Supplements) เพื่อให้ไก่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดูแลเอาใจใส่ให้มากกว่าปกติ จับอุ้มเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย ไม่ตื่นตกใจง่าย หัดให้ไก่เดินบนพื้นลื่น พื้นหยาบ สนามหญ้า

ก่อนการประกวด 5 – 7 วัน ควรอาบน้ำไก่อีกครั้ง ตัดเล็บ เดือยไก่ที่ยาว

เมื่อถึงวันประกวดให้นำไก่ไปสนามประกวดแต่เช้า เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับไก่

1311574390

วัสดุรองพื้น

7.วัสดุรองพื้น

นักเลี้ยงไก่แจ้นิยมใช้ทรายเป็นวัสดุรองพื้น เพราะง่ายต่อการทำความสะอาด โดยใช้ตระแกรงหยาบร่อนเอามูลออก และเปลี่ยนเอาทรายทิ้งเมื่อเริ่มเป็นผงละเอียด

images (5)

การสร้างโรงเรือน

 6.การสร้างโรงเรือน       

การสร้างโรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่โดยเฉพาะจะมีความจำเป็นมาก เพราะลักษณะของโรงเรือนที่ดีจะทำให้ไก่ไม่เกิดความเครียด เนื่องจากอากาศร้อน ทำให้การเจริญเติบโตดีขึ้น ไก่มีสุขภาพดี ลดปัญหาการเกิดโรค และลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

ลักษณะการสร้างโรงเรือนส่วนใหญ่มี 2 วิธี ขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้เลี้ยงเอง คือการสร้างโรงเรือนและการสร้างกรง

– เนื่องจากธรรมชาติของไก่แจ้เป็นสัตว์ที่ชอบอากาศเย็นสบาย แต่ไม่ชอบลมโกรก โรงเรือนควรมีหลังคาสูงเพื่อการระบายอากาศ มีตาข่ายและมุ้ง ที่กันลมโกรก และกันยุงได้
– การสร้างกรง ข้อมูลในการพิจารณาสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเลี้ยงควรพิจารณา ถึงความต้องการพื้นที่เป็นอันดับแรก เช่น ไก่แจ้หนึ่งชุดประกอบด้วย ตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 2 ตัว ควรใช้พื้นที่อย่างน้อย 1 ตารางเมตร ความสูงประมาณ 90 เซนติเมตร

DSC03265

การคัดเลือกไก่

5.การคัดเลือกไก่

ต้องดูเป้าหมายของผู้เลี้ยงว่ามีวัตถุประสงค์หลักอย่างไรบ้าง จะเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินเลี้ยงเพื่อเตรียมตัวส่งเข้าประกวด หรือเลี้ยงเพื่อเป็นการค้า

1. เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินก็จะพิจารณาเลือกไก่ที่มีสายพันธุ์ดี มีลักษณะแข็งแรงจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ โดยเลือกสีไก่ตามความชอบของผู้เลี้ยง

2. เลี้ยงเพื่อเตรียมตัวส่งไก่เข้าประกวด ต้องคัดเลือกไก่โดยพิจารณาตั้งแต่ ความยาวของขา รูปทรง สายพันธุ์ที่ดี มีลักษณะแข็งแรง จากฟาร์มที่เชื่อถือได้

3. เลี้ยงเพื่อเป็นการค้า

3.1 ต้องคัดเลือกสีไก่ที่ตรงตามความต้องการของตลาด
3.2 คัดเลือกสีไก่ตรงตามลักษณะของสีนั้นๆ จากฟาร์มที่เชื่อถือได้
3.3 เลือกไก่ทั้งเพศผู้ และเพศเมียที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เมื่อไก่เริ่มผสมพันธุ์ได้ จะไม่มีปัญหาในการผสม
3.4 ลักษณะของไก่ตัวผู้ ความยาวของขา ไม่ควรสั้นจนเกินไป
3.5 ไก่ที่เป็นพ่อแม่พันธุ์ต้องมาจากฟาร์มที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคที่รุนแรงมาก่อน
3.6 ไก่ต้องได้รับการให้วัคซีนตามโปรแกรมครบถ้วน

images (4)

การจัดการพ่อแม่พันธุ์

4.การจัดการพ่อแม่พันธุ์

การเลี้ยงไก่แจ้นั้นควรเลี้ยงแยกตามสีอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการผสมข้ามพันธุ์ลูกไก่ที่มีสีตรงตามพันธุ์ จะจำหน่ายได้ราคาดีกว่าเสมอ

พ่อพันธุ์ที่ใช้ควรมีอายุ 7- 8 เดือน ส่วนแม่พันธุ์ควรเริ่มที่ อายุ 5 เดือนขึ้นไป พ่อพันธุ์สามารถคุมฝูงแม่พันธุ์ได้ 3-4 ตัว ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารสำหรับพ่อแม่พันธุ์ เพื่อช่วยให้เปลือกไข่แข็งแรง เก็บไข่ทุกครั้งที่พบ เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่สกปรกวัสดุรองพื้น  นักเลี้ยงไก่แจ้นิยมใช้ทรายเป็นวัสดุรองพื้น เพราะง่ายต่อการทำความสะอาด โดยใช้ตระแกรงหยาบร่อนเอามูลออก และเปลี่ยนเอาทรายทิ้งเมื่อเริ่มเป็นผงละเอียด

index.php

อาหารของไก่แจ้

3.อาหารของไก่แจ้

อาหารสำหรับไก่แจ้
ผู้เลี้ยงในปัจจุบัน นิยมใช้อาหารสำเร็จรูปอัดเม็ด (Pellet Feed) สำหรับไก่ไข่ในการเลี้ยง โดยจะเลือกใช้ตามขนาดของไก่ 3 ระยะคือ
-ระยะไก่เล็ก อายุ แรกเกิด – 6สัปดาห์
-ระยะไก่รุ่นอายุ 6 สัปดาห์ – 19 สัปดาห์
-ระยะพ่อแม่พันธุ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป (มานิตย์, 2536)
โดยให้กินตลอดเวลาแบบไม่จำกัดปริมาณ อาหารที่ใช้จะต้องเป็นอาหารที่ใหม่ และสะอาดเสมอ ไก่แจ้กินอาหารในปริมาณที่ไม่มาก เพราะไก่แจ้ตัวเล็ก การลงทุนค่าอาหารจึงต่ำมาก ไก่แจ้หนัก 100 กรัม ให้อาหารเพียง 30 กรัม หรือ 3 % ของน้ำหนักตัว

      น้ำจะต้องมีให้ไก่กินอย่างเพียงพอตลอดเวลา ถ้าหากไก่ขาดน้ำ จะมีปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรง เพราะน้ำจะช่วยระบายความร้อนให้กับร่างกาย น้ำที่ให้ไก่กินต้องสะอาด และเย็น ภาชนะใส่น้ำไม่ควรอยู่ใกล้ไฟกก หรือตั้งตากแดดเพราะจะทำให้น้ำร้อนไก่จะไม่กิน

con_20081211140054_i

สีของไก่แจ้

2.สีของไก่แจ้

สีของไก่แจ้ที่นิยมเลี้ยง

สีขาว

ตัวผู้ หน้า,หงอน,เหนี่ยง,ติ่งหู,สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือ พื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีแดงหรือส้มปนแดง (สีตาหมายถึง สีรอบตาดำ) จงอยปากสีเหลือง ขนและโคนขนทั้งตัวต้องมีสีขาวบริสุทธิ์ เหมือนปุยหิมะ ไม่มีสีอื่นปะปน น้ำขนแวววาว แข้ง, นิ้ว สีเหลืองเล็บสีขาว

ดาวน์โหลด (5)

สีดำ

ตัวผู้ หน้า,หงอน,เหนี่ยง,ติ่งหู, สีแดงจัด หรือมีปานดำ ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีดำหรือ สีสนิมเหล็ก มีขอบตา จงอยปากสีดำ ขนทั้งตัวสีดำสนิท ต้องไม่มีสีอื่นแซม น้ำขนเป็นมัน เหลือบเขียวคล้าย ปีกแมลงทับ แข้ง, นิ้ว, เล็บ เป็นสีดำหรือสีหินชนวน

 biodiversity-136480-2

สีลายดอกหมาก

ตัวผู้ หน้า,หงอน,เหนียง,ติ่งหู,สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่ สีแดงสด ตาสีแดง หรือ ส้มปนแดง จงอยปากสีเหลือง ลำตัวสีดำ ขนตัว ส่วนใหญ่สีดำ สีขนหัว สร้อยคอและ ขนระย้าสีดำ ขลิบด้วยสีขาวปนสีเงินสว่างชัดเจน ขนอกสีดำ ขอบเงิน เป็น ลายข้าวหลามตัดคมชัด หางสีดำปีกสีดำ แข้ง, นิ้ว สีเหลือง เล็บสีขาว

ดาวน์โหลด (6)

สีขาวหางดำ

ตัวผู้ หน้า,หงอน,เหนียง,ติ่งหู,สีแดงสดใบหงอน มีเม็ดทราย หรือ พื้นกำมะหยี่ สีแดงสด ตาสีแดงหรือ ส้มปนแดง จงอยปากสีเหลือง ขนสีขาวบริสุทธิ์ทั้งตัว ขนปีกชั้นแรก และชั้นที่สองแซมดำ แต่เมื่อหุบปีกแล้ว จะดู เป็นสีขาวเกือบทั้งปีก หางพัดมีสีดำ ขนข้างหางพัด แต่ละเส้นสีดำแต่ขลิบขอบ ด้วยสีขาวคมชัด แข้ง,นิ้ว สีเหลือง เล็บสีขาว

 

 ดาวน์โหลด

 

สีทอง (Black Tailed Buff) ตัวผู้ หน้า, หงอน,เหนียง, ติ่งหู, สีแดงสดใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีเหลืองหรือส้ม จงอยปากสีเหลือง ขนสีทองสดใสสม่ำเสมอทั้งตัว ขนปีกชั้นแรกและชั้นที่สอง แซมดำ แต่เมื่อหุบปีกแล้วจะดูเป็นสีทองเกือบทั้งปีก ขนหาง(หางพัด สีดำขอบทอง หางชัย และหางข้างสีดำขอบทอง แข้ง, นิ้ว สีเหลือง เล็บสีขาว

images (3)

สีเทาเปรอะ

ตัวผู้ หน้า, หงอน, เหนียง, ติ่งหู, สีแดงสดใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม มีขอบตา จงอยปากสีเทาหรือเทาดำ ขนทั้งตัวตั้งแต่สร้อยคอ จนถึงหางจะมีสีเทานกพิราบ เทาเข้ม เทาอ่อน ขึ้นสลับปะปนกันอยู่ทั้งตัวโดยไม่มีสีอื่นปน ขนตามลำตัวตั้งแต่สร้อยคอจนถึงหาง จะต้องไม่มีสีเหลืองหรือสีทองขึ้นแซม แข้งนิ้วเล็บ สีเทาคล้ายหินชนวน หรือเขียวอมดำ หรือสีเหลือง

DIGITAL CAMERA

สีลายบาร์ (Cuckoo)

ตัวผู้หน้า, หงอน, เหนียง, ติ่งหู, สีแดงสดใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่สีแดงสด ตาสีแดงหรือ ส้มปนแดง จงอยปากสีเหลืองหรืออมดำ สีขนเป็นสีลายระหว่างสีเทาเงินกับสีเทาเข้มทั้งตัว และไม่มีสีอื่นปะปน แข้ง, นิ้ว เป็นสีเหลือง เล็บสีขาว

0img_0898

การเลี้ยงไกแจ้

1.ประวัติการเลี้ยงไก่แจ้

ประวัติของไก่แจ้

ไก่แจ้เป็นไก่พื้นเมือง สืบทอดสายพันธ์มาจากไก่ป่าเช่นเดียวกับไก่ประเภทอื่นๆ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในเมืองไทยก็พบไก่แจ้มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ถือว่าเป็นไก่พื้นเมืองของประเทศไทยสายพันธุ์หนึ่ง ในแถบยุโรปและอเมริกาจะเรียกไก่แจ้ว่า “แจแปนนีสแบนตั้ม” (Japannese Bantams)เพื่อเป็นการให้เกียรติกับชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ไก่แจ้ขึ้นมาทั้งๆที่ไก่แจ้แท้จริงแล้วไม่ใช่ไก่พื้นเมืองของญี่ปุ่น มีหลักฐานกล่าวว่าแรกเริ่มชาวญี่ปุ่นได้นำไก่แจ้มาจากจีนตอนใต้เมื่อพ.ศ.2149 – 2179 จากนั้นได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนได้รูปทรงและสีสันที่สวยงาม ในเวลาต่อมาญี่ปุ่นได้นำไก่แจ้ จากแถบคาบสมุทรอินโดจีนไปผสมเพิ่มเติมอีก ซึ่งใช้เวลาในการคัดพันธุ์นับร้อยปี จนกระทั่งประมาณห้าสิบปีเศษมานี้เองไก่แจ้ญี่ปุ่นก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ในแถบยุโรปที่มีการนิยมเลี้ยงไก่แจ้ก็เพราะว่า เมื่อสมัยโบราณชนชาติจีนมีการติดต่อซื้อขายกับชาวอังกฤษ ซึ่งชาวจีนได้นำไก่แจ้ติดเรือสำเภาไปด้วย เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงแก้เหงาในเรือ เมื่อพ่อค้าชาวอังกฤษเห็นเข้า ก็เกิดความสนใจและได้นำไปเลี้ยงยังประเทศอังกฤษ ในตอนแรกก็มีการเลี้ยงกันเฉพาะพ่อค้าและชาวบ้าน ต่อมาพระนางวิคตอเรียเห็นเข้าและพอพระทัยจึงมีการนำเข้าไปเลี้ยงในพระราชวังเป็นครั้งแรก สำหรับในเมืองไทยมีการเลี้ยงไก่แจ้มาตั้งแต่อดีตกาลแล้ว แต่ไม่ได้สนใจในการปรับปรุง หรือคัดสายพันธุ์เลย จนกระทั่งเมื่อประมาณ20-30ปีที่ผ่านมามีผู้ให้ความสนใจอย่างจริงจัง ในการพัฒนาเพื่อให้ไก่แจ้ไทยมีลักษณะดีและสวยงามตามแบบมาตรฐานสากล จึงได้มีการสั่งซื้อไก่แจ้ สายพันธุ์ที่ดีจากญี่ปุ่นเข้ามาผสมกับสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทย จากการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันไก่แจ้ไทยกลายเป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศมากขึ้น

ไก่แจ้จัดเป็นไก่ที่คนไทยคุ้นเคยมากชนิดหนึ่ง เพราะจะเห็นได้จากการใช้คำพังเพยที่ได้จากไก่ เช่น เจ้าชู้ไก่แจ้ ของคนในอดีต ที่ใช้สำหรับเปรียบเทียบความเจ้าชู้ของบุรุษเพศที่เหมือนกับพฤติกรรม ของพ่อไก่แจ้ที่วิ่งปร๋อเข้าหา ตัวเมียทุกคราที่พบเห็น คำพังเพยนี้ย่อมเป็นสิ่งบ่งบอกให้ทราบว่า ไก่แจ้อยู่คู่กับประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน และบ่อยครั้งที่เรายังสามารถพบเห็นไก่แจ้อยู่ตามลานวัด หรือตามลานห้องแถวบางแห่ง ส่วนไก่แจ้ที่เกษตรกรเพาะไว้ เพื่อจำหน่ายนั้น จะมีการดูแลเอาใจใส่และคัดเลือก ปรับปรุงพันธุ์อย่างดี คนที่พบเห็นส่วนมากจะชมชอบท่วงท่าและ รูปทรงที่น่ารักของมัน ทำให้หลายคนอดใจไม่ได้ที่ต้องตระเวนหาไก่แจ้มาเลี้ยง โดยการขอจากพรรคพวกเพื่อนฝูงที่ คุ้นเคย หรือาจยอมควักสตางค์ในกระเป๋าออกมาซื้อ การซื้อขายไก่แจ้นั้น ผู้ขายเป็นผู้กำหนดราคา โดยราคาซื้อขาย ตัวละเป็นพันเป็นหมื่นบาท ขึ้นอยู่กับความสวยของลักษณะรูปทรงและสีขนของไก่ แม้กระทั่งลูกไก่แจ้ที่เพิ่งพ้นจากระยะ การอนุบาล ยังมีการซื้อขายกันตัวละหลายร้อยบาท จะเห็นได้ว่าการซื้อขายไก่แจ้ดังกล่าวย่อมแพงกว่าการซื้อขายไก่เนื้อ และไก่ไข่ที่เลี้ยงไว้สำหรับการบริโภคหลายสิบเท่าตัว โดยไก่เนื้อที่เลี้ยงน้ำหนัก 1.9-2.0 กิโลกรัม สามารถจำหน่ายใน สภาพมีชีวิตได้เพียงตัวละ 60-70 บาท ในขณะที่ไก่ไข่ที่จำหน่ายเป็นไก่สาวที่พร้อมจะไข่ ที่มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 1.5-1.6 กิโลกรัม สามารถจำหน่ายได้เพียงตัวละ 100-120 บาท เมื่อเทียบกับราคาที่จำหน่ายไก่แจ้ที่มีน้ำหนักเฉลี่ย ระหว่าง 0.6-0.9 กิโลกรัม สามารถจำหน่ายได้ตัวละเป็นพันบาท จึงเห็นได้ว่าไก่แจ้ถึงแม้เป็นไก่ตัวเล็ก แข้งขาสั้น แต่มี สัดส่วนและองค์ประกอบของร่างกายที่สมดุล มีความสง่างามและท่าทางที่น่ารักในตัวของมันเอง ลักษณะเหล่านี้เป็นผล มาจากการควบคุมทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนที่ทำให้เกิดเป็นมูลค่าเพิ่มของตัวไก่แจ้ หรืออาจกล่าวได้ว่าไก่แจ้ม ีรูปเป็นทรัพย์ก็ย่อมไม่ผิด เฉกเช่นเดียวกับสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ ซึ่งย่อม รวมถึงมนุษย์ด้วย ถ้ามีความงามมักจะได้ทรัพย์

ไก่แจ้มีวิวัฒนาการและปรับตัวมาจากไก่ป่าขนสีแดง (red jungle fowl) เช่นเดียวกับไก่ชนิดอื่น ๆ เกือบทั่วโลก ไก่แจ้มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับไก่เลี้ยงทั่วไปคือ Gallus domesticus จัดอยู่ใน Tribe Phasianini, Subfamily Phasianinae, Family Phasianidae, Suborder Galli, Order Galliforms และ Class Aves ไก่แจ้มีแข้งสั้น มองแทบไม่เห็นขา ลักษณะแข้งสั้นดังกล่าวถูกควบคุม ด้วยยีน Cp สามารถพบเห็นไก่แข้งสั้นได้ในหลายพื้นที่ของโลก การเรียกขานไก่แข้งสั้นชนิดนี้ในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันไป เช่น ประเทศไทยเรียก ไก่แจ้ ประเทศญี่ปุ่นเรียก Chabo และ Jitokko ประเทศฝรั่งเศสเรียก Courtes Pattes ประเทศอังกฤษเรียก Scots Dumpy ส่วนอเมริกาเรียก Creeper และ Japanese bantams ซึ่งเป็นพันธุ์ไก่แข้งสั้นที่นำมาจากประเทศญี่ปุ่น ไก่ขาสั้นจะมีเอกลักษณื เฉพาะตัวคือแข้งสั้นแตกต่าง จากไก่ Bantams ทั่วไปที่หมายถึงไก่ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักไม่มาก แต่ความยาวขาปกติ ยีนแข้งสั้น (Cp) มีผลกระทบต่อ กระดูกชิ้นต่าง ๆ ทำให้กระดูกเหล่านั้นสั้นกว่าปกติประมาณ 13-24% ในเพศเมียและ 18-31% ในเพศผู้ ซึ่งจะมีผลอย่าง รุนแรงเฉพาะส่วนของกระดูกแข้ง (tarsometatarsus) ที่ทำให้แข้งมีขนาดสั้นมาก จนแทบมองไม่เห็นขาในขณะที่ไก่ยืน การผลิตปกติของส่วนกระดูกของร่างกายนี้เป็นการผิดปกติที่เรียกว่า achondrophasia หรือ chondrodystrophy

ดาวน์โหลด (1)